วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

 การทำงานของอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาด ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
             




·       Host       เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า โฮสต์(Host) คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าาสารกับผู้ใช้บริการ

   ·       Protocal  คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ
   
   ·       TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดย จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocolk
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protoco
TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน
        1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป 
        2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address
     
  IP Address คืออะไร
   คือ เลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดและมีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ยกตัวอย่างเช่น 192.168.1. จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
        1.Network Address
        2.Computer Address


 DNS คืออะไร
    คือ Domain Name System และ DNS server คือ Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ เพราะ เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต
         .com คือโดเมนระดับบนสุด
         contoso คือโดเมนระดับสอง
         mail คือโดเมนระดับสาม


DNS Domain Name  ประกอบด้วย  โดเมนเนมจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ


ส่วนที่ 1 Sub Domain Name
 คือ คำที่อยู่ก่อนชื่อโดเมน และเป็นสิ่งที่จะต้องกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนของเว็บไซต์ โดยปกติมักใช้เป็น www ซึ่งเป็นของฟรี

ส่วนที่ 2 Second-Level Domain Name (SLD)
 ในส่วนนี้มักจะตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกับที่มีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้สับสนว่าจะไปที่เว็บไซต์ไหนกันแน่ การตั้งชื่อตรงนี้จะมีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บดังได้ เพราะคงจะปฏิเสธกันไม่ได้ว่า ชื่อเป็นสิ่งแรกที่คนในโลกของอินเตอร์เน็ตจะรู้จักกันได้ การตั้งชื่อในส่วนนี้จึงควรให้เป็นชื่อที่จำง่าย สั้น และกระชับ สะกดง่าย ที่ความหมายและเข้าใจได้ชัดเจน

ส่วนที่ 3 Top-Level Domain (TLD)
 แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
 โดเมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร
 ประเภทองค์กร

Com  -  กลุ่มองค์กรการค้า
Edu   -  กลุ่มการศึกษา
Gov   - กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Mit    -  กลุ่มองค์กรการทหาร
Net    -  กลุ่มการบริการเครือข่าย
Org    -  กลุ่มองค์กรอื่นๆ

โดเมน 3 ระดับ มีลักษณะดังนี้  dora.co.th , onec.go.th , kois.go.kr เป็นต้น  โดเมนเนมในลักษณะนี้จะประกอบด้วย  ชื่อโดเมน , ตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเภทขององค์กรแต่มีรูปแบบแตกต่างจากคำย่อที่ใช้โดเมนเนม 2 ระดับ และตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้นๆ  ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าในอเมริกานั้นจะใช้ตัวย่อของประเภทองค์กรเป็นตัวอักษร 3 ตัว microsolf.com  ในกรณีที่ประเทศอื่นๆเช่นบ้านเราจะมีเพียงแค่ 2 ตัว เช่น moe.go.th
ประเภทขององค์กร

.go          หน่วยงานรัฐบาล
 .ac           สถาบันการศึกษา
 .co           องค์กรธุรกิจ
 .or           องค์กรอื่นๆ



ชื่อโดเมนประกอบด้วยรายละเอียด
1.  สามารถใช้ตัวอักษร ( A-Z ) , ตัวเลข ( 0-9 ) หรือเครื่องหมายยติภังค์ ( - )ในการจดชื่อโดเมนได้
 2.  สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้น้อยที่สุด 2 ตัวอักษรและมากที่สุด 62 ตัวอักษร
 3. จะจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ แต่นำตัวเลขมาไว้ข้างหน้าสุดหรือหลังสุดได้
 4. จะนำเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) อยู่หน้าสุดหรือหลังสุดไม่ได้และนำมาอยู่ติดกันไม่ได้ เช่น (- -,- - )






ข้อมูลอ้างอิง
http://www.ongitonline.com
http://www.bloggang.com

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สรุปการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต





ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

              การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ โมเด็มแบบอินเทอร์นอลโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สายดังรูปที่ 4.12


ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
1.       อุปกรณ์มีราคาถูก
2.       การติดตั้งง่าย
3.       การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network)
                   ISDN Line เป็นเส้นทางการสื่อสารที่ใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาแต่ทำให้สามารถส่งทั้ง เสียงพูด และข้อมูลได้พร้อมกันทำให้สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้พร้อมกับการคุยโทรศัพท์โดยข้อมูลหรือเสียงที่รับ - ส่งนั้นอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งมีข้อดีมากว่าสัญญาณอนาล็อก นอกจากนี้การใช้บริการ ISDN Line ยังสามารถมัลติเพล็ก (Multiplex) สัญญาณได้มากกว่า 3 สัญญาณส่งไปในคราวเดียวกัน ทำมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาโดยความเร็วในการรับ  ส่งข้อมูลสูงสุดคือ 128 Kbps
                ผู้ใช้ที่ต้องการใช้ช่องทางการสื่อสารเป็น ISDN line จำเป็นต้องเลือกใช้โมเด็มชนิดพิเศษที่สามารถสื่อสานผ่าน ISDN Line ได้เรียกว่า “ISDN modem” ซึ่งจะทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ต เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล การชมเว็บไซต์หรือการประชุมด้วยเทคโนโลยี Videoconference สามารถทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและชัดเจนนั่นเอง
ดังนั้นในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1.       ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.       การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up


3. การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line)
                     เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทร ศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน DSL เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเส้นทางการสื่อสารที่เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยเหมาะสำหรับสำนักงานขนาดเล็กหรือผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป โดย DSL มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ ISDN Line เพียงแต่มีความเร็วในการรับ  ส่งข้อมูลสูงกว่า ISDN Line เท่านั้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2.       บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.       การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
ADSL (Asymmetric DSL) เป็นเส้นทางการสื่อสาร DSL ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการรับ  ส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 640 Kbps แต่สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 9Mbps ทำให้ตอบสนองต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีเนื่องจากความต้องการในการดาวน์โหลดข้อมูลของผู้ใช้งานมีมากกว่าการอัพโหดข้อมูล

4. การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2.       ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1.       ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2.       ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
                  3.       ค่าใช้จ่ายสูง


ประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต

1. โปรแกรมประเภทบราวเซอร์
            โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องเว็บไปยังเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยปกติแล้วเราจะคุ้นเคยกับโปรแกรมที่มีชื่อว่า Internet Explorer ที่มาพร้อมกับวินโดว์ แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ และปัจจุบันมีการพัฒนาทำให้สามารถใช้คำสั่งเป็นภาษาไทยได้

2. โปรแกรมประเภทสร้างเว็บเพจ
            โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจที่เราใช้เข้าไปดู ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม ที่โครงสร้างหลักแล้ว Web ส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างภาษา HTML ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บ เช่น โปรแกรม PHP โปรแกรม JAVAและอื่น ๆ แต่เรามาดูโปรแกรมที่คุยเคยกันดีกว่านั้นคือโปรแกรม Word ก็สามารถสร้างเว็บได้

3. โปรแกรมประเภทสนทนา
            สำหรับโปรแกรมประเภทนี้ เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อหรือสารระหว่างกันซึ่งอาจติดต่อด้วยการพิมพ์ผ่านทางแป้นพิมพ์ การคุยผ่านไมโครโฟน
  

บริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
     - เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่นิยมมากที่สุด
     - ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร ภาพและเสียง
     - ผู้ส่งและผู้รับต้องมี E-mail.com เช่น Name@Domain.com
     - ข้อมูลในจดหมายจะถูกส่งไปยัง Server และข้อมูลจะถูกเก็บไว้จนกว่าจะเรียกใช้อีกครั้ง
ข้อดี
  • เป็นการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิ
  • สามารถกระจายข้อมูลไปยังผู้อ่านไดทีละหลายคน
  • ส่งต่อได้ง่าย
  • ส่งขัอมูล ไฟล์ส่งไปกับข้อมูลได้
ข้อเสีย
  • ได้รับจดหมายไม่พึ่งประสงค์มากขึ้น
  • มีอีเมลขยะ (Junk mail) หรืออีเมลที่ไร้สาระ
2. บริการแสดงผลเว็บไซต์ หรือ WWW
     - เป็นบริการแสดงผลเว็บไซต์ซึ่งเป็นเอกสาร Hyper Text ที่สามารถแสดงได้ทั้งตัวอักษร รูปภาพและเสียงไปยังเอกสาร Hyper Text ต่างๆ
     - ต้องทำงานบนโปรแกรมในกลุ่ม Web browser โดยผู้ใช้ต้องป้อน URI ลงในโปรแกรมดังกล่าวด้วย

3. File Transfer Protocol
     - บริการดวาน์โหลดไฟล์ คือ บริการถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     - ผู้ใช้สามารถเลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการโอนได้ทั้งจากเครื่องตนเองไปยังเครื่องปลายทางหรือจากเครื่องปลายทางมาหาเครื่องตนก็ได้
     - การเรียกใช้บริการ FTP ให้พิมพ์  ftp:// ตามด้วยชื่อ FTP site หรือ FTP server
     - โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลด เช่น FTP ที่อยู่ในบราวเซอร์

4. Telnnet การใช้คอมพิวเตอร์ระยะไกล
     - สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้โดยอาศัยอินเทอร์เน็ต
     - ผู้ใช้สามารถใช้ server ตัวใดๆที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์ได้ โดยผู้ใช้ต้องมีบัญชีและรหัสผ่าน
     - บริการ Telnet สามารถสั่ง servser  ให้ทำงานได้

5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น ( Usenet หรือ Weblog )
     - เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยผู้ใช้บริการทั่วโลกสามารถพบปะแสดงความคิดเห็นได้
     - มีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มและเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ
     - ในปัจจุบบันมีลักษณะที่เรีรยกว่า Weblog คือมีการสร้างบล็อกของผู้ใช้แตต่ละคนขึ้นมาและผู้อื่สามารถเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นได้

6. การสนทนาด้วยข้อคววาม ( Chat )
      - สามารถสนทนาได้โดยการพิมพ์, Internet Phone และภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว 
      - บริการที่นิยมคือ โปรมแกรม MSN , Messenger

7.  การสืบค้นข้อมูล ( Seaarh )
     - คือบริการค้นหาข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการจัดเรียงหัวข้ออย่างเป็นระบบ ทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายและะสะดวกขึ้น โดยผู้ใช้ต้องเปิดเว็ฐไซต์ที่ใช้ในการสืบค้นจากการนั้นป้อนคำค้นหา ( Key Word ) แล้วสั่งให้ Search Engine ทำการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

8. บริการอื่นๆ
     - ข้อมูลเสียง Voice 
     - การประชุมทางไกล
     - การสืบค้นข้อมูล Search Engine
     - โปรแกรมคอมพิวเตอร์
     - โทรทัศน์
     - วิทยุ
     - วิดีโอ