วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

 การทำงานของอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาด ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
             




·       Host       เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน ที่เรียกว่า โฮสต์(Host) คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าาสารกับผู้ใช้บริการ

   ·       Protocal  คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ
   
   ·       TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดย จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocolk
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protoco
TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน
        1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป 
        2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address
     
  IP Address คืออะไร
   คือ เลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดและมีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ยกตัวอย่างเช่น 192.168.1. จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
        1.Network Address
        2.Computer Address


 DNS คืออะไร
    คือ Domain Name System และ DNS server คือ Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ เพราะ เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต
         .com คือโดเมนระดับบนสุด
         contoso คือโดเมนระดับสอง
         mail คือโดเมนระดับสาม


DNS Domain Name  ประกอบด้วย  โดเมนเนมจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ


ส่วนที่ 1 Sub Domain Name
 คือ คำที่อยู่ก่อนชื่อโดเมน และเป็นสิ่งที่จะต้องกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนของเว็บไซต์ โดยปกติมักใช้เป็น www ซึ่งเป็นของฟรี

ส่วนที่ 2 Second-Level Domain Name (SLD)
 ในส่วนนี้มักจะตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ แต่ห้ามซ้ำกับที่มีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้สับสนว่าจะไปที่เว็บไซต์ไหนกันแน่ การตั้งชื่อตรงนี้จะมีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บดังได้ เพราะคงจะปฏิเสธกันไม่ได้ว่า ชื่อเป็นสิ่งแรกที่คนในโลกของอินเตอร์เน็ตจะรู้จักกันได้ การตั้งชื่อในส่วนนี้จึงควรให้เป็นชื่อที่จำง่าย สั้น และกระชับ สะกดง่าย ที่ความหมายและเข้าใจได้ชัดเจน

ส่วนที่ 3 Top-Level Domain (TLD)
 แบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ โดเมน 2 ระดับ  และโดเมน 3 ระดับ
 โดเมน 2 ระดับ  มีลักษณะดังนี้  hotmail.com , thai.net เป็นต้น  โดยโดเมนแบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน และตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุด  คือคำย่อของประเภทองค์กร
 ประเภทองค์กร

Com  -  กลุ่มองค์กรการค้า
Edu   -  กลุ่มการศึกษา
Gov   - กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Mit    -  กลุ่มองค์กรการทหาร
Net    -  กลุ่มการบริการเครือข่าย
Org    -  กลุ่มองค์กรอื่นๆ

โดเมน 3 ระดับ มีลักษณะดังนี้  dora.co.th , onec.go.th , kois.go.kr เป็นต้น  โดเมนเนมในลักษณะนี้จะประกอบด้วย  ชื่อโดเมน , ตัวย่อที่อยู่ด้านหลังเครื่องหมายจุดใช้ระบุประเภทขององค์กรแต่มีรูปแบบแตกต่างจากคำย่อที่ใช้โดเมนเนม 2 ระดับ และตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้นๆ  ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าในอเมริกานั้นจะใช้ตัวย่อของประเภทองค์กรเป็นตัวอักษร 3 ตัว microsolf.com  ในกรณีที่ประเทศอื่นๆเช่นบ้านเราจะมีเพียงแค่ 2 ตัว เช่น moe.go.th
ประเภทขององค์กร

.go          หน่วยงานรัฐบาล
 .ac           สถาบันการศึกษา
 .co           องค์กรธุรกิจ
 .or           องค์กรอื่นๆ



ชื่อโดเมนประกอบด้วยรายละเอียด
1.  สามารถใช้ตัวอักษร ( A-Z ) , ตัวเลข ( 0-9 ) หรือเครื่องหมายยติภังค์ ( - )ในการจดชื่อโดเมนได้
 2.  สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้น้อยที่สุด 2 ตัวอักษรและมากที่สุด 62 ตัวอักษร
 3. จะจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ แต่นำตัวเลขมาไว้ข้างหน้าสุดหรือหลังสุดได้
 4. จะนำเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) อยู่หน้าสุดหรือหลังสุดไม่ได้และนำมาอยู่ติดกันไม่ได้ เช่น (- -,- - )






ข้อมูลอ้างอิง
http://www.ongitonline.com
http://www.bloggang.com